•\-/ไอศครีม\-/• - •\-/ไอศครีม\-/• นิยาย •\-/ไอศครีม\-/• : Dek-D.com - Writer

    •\-/ไอศครีม\-/•

    มีประวัติไอศรีม แล้วก้อมีทายนิสัยจากรสไอศรีมด้วย

    ผู้เข้าชมรวม

    1,741

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    1.74K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 ม.ค. 50 / 16:28 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    - - หวัดดีค่ะทุกคน


    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ประวัติไอศรีม

      เล่ากันว่า"ไอศครีม"มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนในต่างประเทศ ทั้งนี้ได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะใช้รับประทานกันแต่ภายในวังเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไอศกรีมเป็นอาหารหวานที่ทันสมัยหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหมาก็ว่าได้ ใครได้ลองรับประทานไอศกรีมในสมัยนั้นก็ถือว่า เป็นคนที่ก้าวล้ำนำสมัยไปโดยปริยาย

      สืบสาวต้นกำเนิดไอศกรีมยุคโบราณ

      จุดเริ่มต้นของไอศกรีมในระดับสากล นายโทมัส อาร์ควินนี่ เล่าว่า การรับประทานไอศกรีมน่าจะเริ่มต้นกันมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรห์ แห่งอนาจักรโรมันที่ได้พระราชทานเลี้ยงไอศกรีมแก่เหล่าทหารหาญที่อยู่ในกองทัพของพระองค์ แต่ในขณะนั้นไอศกรีมเกิดจากเป็นการนำหิมะมาผสมเข้ากับน้ำผึ้งและผลไม้ ต่อมาเรียกไอศกรีมประเภทนี้ว่า เชอร์เบ็ท(Sherbet)นั่นเอง แต่ตำนานนี้ก็หาได้เป็นแค่ตำนานเดียวที่เล่าสืบต่อกันมาถึงต้นกำเนิดของไอศกรีมไม่

      หากแต่บางกระแสก็ระบุว่าบรรพชนของคนจีนค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 4,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งลักษณะของไอศกรีมในประเทศจีนทำมาจากข้าวบดผสมกับนมสดที่เย็นจนเป็นนำแข็งและได้มีการสอนให้ทำไอศกรีมให้กับคนอินเดียและชาวเปอร์เชียอีกด้วย การก่อกำเนิดไอศกรีมตามตำนานประเทศจีนระบุว่า เป็นเรื่องของความบังเอิญแท้ๆ

      ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีนในสมัยนั้นเพิ่งจะมีการรู้จักรีดนมจากสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในฟาร์ม เมื่อรีดออกมาจำนวนมากก็บริโภคไม่หมด ประกอบกับน้ำนมเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมากๆ คนชั้นสูงเห็นท่าไม่ดีจึงเกิดแนวคิดนำน้ำนมไปหมกซ่อนไว้ในหิมะนัยว่าเพื่อต้องการที่จะถนอมน้ำนมเอาไว้รับประทานได้นานๆ

      เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญแท้ๆ

      จนกระทั่งน้ำนมที่นำไปหมกไว้ในหิมะกลายเป็นนมแช่แข็งขึ้นมาในบัดดล จากนั้นก็มีการพัฒนารูปแบบจากนมแช่แข็งที่แสนจะสุดธรรมดาให้กลายเป็นน้ำผลไม้แช่แข็ง ในส่วนของราชวงศ์โมกุลได้นำเอานมต้มมาผสมกับถั่วพิสตาซิโอจนเกิดเป็นของหวานแช่แข็งเรียกกันว่า Kulfi ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแบบแผนของไอศกรีมในยุคโบราณ

      จนปลายศตวรรษที่ 13 มาร์โคโปโล เดินทางไปจีน และชื่นชอบ จึงนำสูตรกลับไป อิตาลีขณะเดินทางมีการเติมนมลงไป กลายเป็นสูตร ของเขาโดยเฉพาะ และแพร่หลายไปในอิตาลี ฝรั่งเศสและข้ามไปอังกฤษ คนอิตาลีถือว่าตนเองเป็นต้นตำรับไอศกรีมแบบที่นำมาปั่นให้เย็นจนแข็ง เรียกว่าเจลาติ (Gelati) ประเทศอิตาลีและมีการพัฒนาไปมากจนทำให้อิตาลีได้ชื่อว่าเป็นแหล่งไอศกรีมเลิศรสเลยทีเดียว ขณะเดียวกันคนอิตาลีมักจะทึกทักเอาว่าบรรพชนของตนเป็นคนค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรกเสมอมา

      แถบยุโรปประมาณ ค.ศ.1670 ฟรานเอสโก ได้นำไอศกรีมไปจำหน่ายภายในร้านกาแฟของเขาเพื่อให้บริการลูกค้าของเขาปรากฏว่าได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวางมากทีเดียวไอศกรีมได้รับการพัฒนากระบวนการผลิตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง ค.ศ.1846 นางแนนซี่ จอห์นสัน ก็สามารถสร้างเครื่องผลิตไอศกรีมขึ้นมาได้เป็นครั้งแรก และนับเป็นจุดที่ทำให้ไอศกรีม เผยแพร่เข้าไปทั่วโลกก็ว่าได้

      เส้นทางการแพร่หลายของเจ้าไอติม ที่น่าสนใจก็คือเมื่อประมาณศตวรรษที่ 14 ไอศกรีมได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศเทศอิตาลีและฝรั่งเศส ซึ่งในประวัติศาสตร์ ของไอศกรีมช่วงนี้ระบุว่า ในงานฉลองอภิเษกสมรสระหว่างแคเธอรีน เดอ เมดิซี แห่งเวนิชกับกษัตริย์เฮนรี่ที่ 2 ของฝรั่งเศสได้มีการนำ ของหวานกึ่งแช่แข็งมาเสริฟแขกเหรือที่มาร่วมงาน สำหรับรูปร่างหน้าตาเหมือนกับไอศกรีมไม่มีผิดเพี้ยน และนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งทำให้ ไอศกรีมกลายเป็นของหวานของคนค่อนโลกไปโดยปริยาย

      เล่ากันว่าในช่วงแรกๆที่มีไอศกรีมต้องผ่านการผลิตที่ค่อนข้างจะยุ่งยากเนื่องจากต้องใช้เวลาและต้องลงแรงตามสมควร เมื่อได้ผลิตผลจากการลงแรงที่เป็นไอศกรีมเย็นเฉียบแล้ว ก็ต้องเกณฑ์คนมาช่วยกันรับประทานให้หมดมิเช่นนั้นแล้วไอศกรีมก็จะละลายกลายเป็นน้ำไปในเวลาอันรวดเร็ว กลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าในที่สุด

      การแพร่หลายของไอศกรีมจากฝรั่งเศสเข้าไปอเมริกา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 จนไอศกรีมกลายเป็นของหวานที่ผู้คนชื่นชอบกันมาก ในช่วงนี้ตำนานไอศกรีมในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ "ไอศกรีมซันเดย์"ได้ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางความอึมครึมเนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่า เกิดขึ้นในรัฐไหนกันแน่ แต่ที่แน่ๆในราวๆปี พ.ศ. 2435 ไอศกรีมซันเดย์ได้ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางความตื่นเต้นของอเมริกันชนสมัยนั้นอย่างถ้วนหน้า

      "ไอศกรีมซันเดย์"ถูกนักบวชประท้วง

      เล่ากันสืบมาว่า ในรัฐนิวยอร์มีการนำคำว่า "ซันเดย์"มาใช้ตั้งชื่อไอศกรีม สืบเนื่องจากทางร้านขายยาที่มีชื่อ "แพลตต์แอนด์โคต์" โดยนายเชสเตอร์ แพลตต์ เจ้าของร้านเกิดไอเดียใหม่ๆขึ้นมาโดยการนำเอาไอศกรีมมาจำหน่าย ตามปรกติแล้วเชสเตอร์เขาจะตักไอศกรีมขายปรกติธรรมดาๆ ต่อมาวันหนึ่งซึ่งเป็นวันอาทิตย์ นายเชสเตอร์ แพลตต์ ได้รับแรงดลใจอะไรสักอย่างเลยตักไอศกรีมใส่ถ้วยแชมเปญแล้วนำเอาไซปรัสรสเชอรี่มาราดลงบนก้อนไอศกรีมด้วย และประดับด้วยผลเชอรี่แช่อิ่มบนยอด ดูสวยงามน่ารับประทานเป็นอย่างยิ่ง

      จากกลยุทธ์อันนี้เองสามารถเรียกร้องความสนใจจากลูกค้าขาประจำและขาจรของนายเชสเตอร์ แพลลต์ได้เป็นอย่างดี

      หลังจากที่เกิดไอเดียอันบรรเจิดจนได้"ไอศกรีมหน้าตากแปลกๆ"ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าไอศกรีมดังกล่าวก็ขายดีเป็นเท น้ำเทท่า จนนายเชสเตอร์ แพลตต์ จนนับเงินกันแทบไม่ทัน และเขาไม่ลืมที่จะตั้งชื่อให้ ไอศกรีมสูตรดังกล่าวเสียอย่างเลิศหรูว่า "Cherry Sunday" โดยให้เหตุผลง่ายๆว่า เพราะมันก่อกำเนิดขึ้นในวันอาทิตย์นั่นเอง

      ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราได้รับรู้รับทราบถึงเส้นทางของ "ไอศกรีมซันเดย์" ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร แต่นั่นไม่ได้เป็นตำนานเดียวเท่านั้น เนื่องจากยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับไอศกรีมซันเดย์อีกหลายตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา

      วันอาทิตย์"ที่มาของSunday

      เป็นที่น่าสังเกตว่าจากตำนานต่างๆของไอศกรีมซันเดย์มักจะเกี่ยวพันอยู่กับวันอาทิตย์แทบทั้งสิ้น อย่างกรณีของการบอกเล่าของ "นายจอร์จ กิฟฟี่" คนดังแห่งรัฐวิสคอนซิน ระบุว่า เหตุที่มีการเลือกใช้คำว่า Sunday เพราะวันอาทิตย์เป็นวันที่อเมริกันชนชาวคริสต์ส่วนใหญ่จะไปเข้าโบสถ์กันแทบทุกคน ในวันนี้ผู้คนจะแต่งตัวดีๆพอช่วงเวลาหลังจากเสร็จพิธีในโบสถ์แล้ว คริสตศาสนิกชนก็จะชักชวนกันไปหาของหวานรับประทานกัน

      ดูเหมือนว่าเจ้าไอศกรีมเป็นของหวานชนิดแรกๆที่ถูกเลือก และแม้ว่าไอศกรีมจะมีราคาแพงเท่าไหร่ก็ตามก็ไม่มีใครจะปริปากบ่นเพราะวันแห่งการเข้าโบสถ์นับเป็นวันแห่งมงคลนั่นเอง

      อย่างไรก็ตามต่อมาคำว่า "Sunday" ได้ถูกเปลี่ยนมาใช้ "Sundae"สาเหตุจากการที่ในหมู่คริสต์ศาสนิกชนโดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้นำในแวดวงศาสนาได้ดาหน้าออกมาโจมตีว่าการนำคำว่า "Sunday"มาใช้ว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากวันอาทิตย์เป็นวันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งการนำวันดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อของหวานเป็นสิ่งไม่บังควร

      แต่จะอย่างไรก็แล้วแต่ชื่อของ "ไอศกรีมซันเดย์"แพร่หลายไปทั่วโลกอย่างยากที่จะหยุดยั้งได้แล้ว แม้ว่าชื่อของมันจะถูกเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตามที แต่รสชาติความอร่อยของมันได้ฝังรากลึกเข้าไปนั่งในใจคนทั่วโลกเสียแล้ว ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ถึงกับลงทุนถึง 200 ดอลลาร์ซื้อเครื่องปั่นไอศกรีม ไปทำกินเองในหน้าร้อน

      คนไทยตื่นเต้นได้ลิ้มรสไอติมสมัยร.5

      ส่วนสังคมไทยไอศกรีมได้เข้ามาปรากฏตัวในตั้งแต่รัชสมัยของรัชกาลที่ 4 คาบเกี่ยวถึง รัชกาลที่ 5 โดยเข้ามาทางประเทศสิงคโปร์ในขณะนั้นมีการนำน้ำแข็งเข้ามาก่อนที่จะนำไอศกรีมเข้ามา คนไทยสมัยนั้นมักจะเรียกไอศกรีมกันติดปากว่า "ไอศครีม"หรือ"ไอติม"และนับเป็นของหวานประเภทเดียวที่สร้างความประหลาดให้กับสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องใช้ความเย็นเป็นตัวสำคัญในการทำ

      เล่ากันว่าสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 4 มีการจำหน่ายกันเฉพาะน้ำแข็งที่ใส่น้ำหวาน ต่อมาได้พัฒนาเป็นไอติมหลอดเนื่องจากนำน้ำหวานลงไปในหลอดโดยผสมออกเป็นหลายรสชาติ ขณะเดียวกันก็ผสมสีลงไป ทั้งสีแดง สีส้ม สีเขียว สีดำ สีชา ทั้งนี้เพื่อที่จะสร้างความสวยงามแปลกใหม่ และสามารถสร้างแรงดึงดูดลูกค้าตัวน้อยๆได้อีกทางหนึ่ง และที่สำคัญมีการนำกลยุทธ์การตลาดแจกแถมขึ้นมาใช้กันด้วย โดยการนำสีแดงไปทาไว้ที่ไม้ไผ่ซึ่งใช้เสียบไอติมหลอด ใครซื้อได้ไม้เสียบสีแดงก็สามารถที่จะนำไม้ มาแลกไอติมหลอดฟรีๆได้อีก 1 อัน

      พัฒนามีให้เลือกหลากหลายรสชาติ

      ไอศครีมถูกพัฒนาไปอ ย่างต่อเนื่องมีการนำไอศกรีมตักใส่แก้ว ใส่ถ้วย แถมด้วยใส่ขนมประเภท ลอดช่อง ขนุน ถั่วลิสง เม็ดบัว ถั่วแดง ลงไปบนหน้าไอศกรีมทั้งนี้เพื่อที่จะเพิ่มพูนรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญไม่ลืมที่จะเหยาะนมสดหรือช็อกโกเล็ตลงไปบนก้อนไอศกรีมด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีไอศกรีมชนิดตัก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นไอศกรีมกะทิรูปลักษณะเป็นแท่งใหญ่ๆแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กเสียบไม้ไว้แบ่งขาย ทั้งนี้มีให้เลือกหลากหลายรสชาติ ทั้งทุเรียน กาแฟ ชา ชอกโกเล็ตและเผือก เป็นต้น

      ในขณะเดียวกันธุรกิจร้านขายไอศกรีมกลายเป็นธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ก็ คือ วัยรุ่น ทั้งได้พัฒนาไอศกรีมเป็นไอศกรีมสมุนไพรก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านสุขภาพ เนื่องจากแคลอรีต่ำ เพื่อสนองตอบต่อลูกค้าที่ต้องการควบคุม เรื่องอาหาร

      ปัจจุบันนอกจากมีการทำไอศกรีมไว้รับประทานเองแล้ว ยังมีการทำไอศกรีมในรูปของโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตไอศกรีมจำนวนมากๆส่งป้อนตลาด ทั้งนี้มีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง ซึ่งในตลาดขณะนี้มีอยู่จำนวนมากมายหลายยี่ห้อ บางยี่ห้อแบรนด์สินค้าเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคในท้องตลาด เรียกได้ว่าติดตลาดแล้วเป็นการถาวร ทั้งในรสชาติความเอร็ดอร่อย

      รสหวานเย้ายวนทั้งเด็กและผู้ใหญ่

      ความนิยมและคลั่งไคล้ในรสชาติของไอศกรีมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั้งวัยเด็กวัยผู้ใหญ่ทุกคนก็ไม่เคยปฏิเสธไอศกรีม จนทำให้มีการพัฒนาไอศกรีมทั้งในรูปองรสชาติ รูปแบบ ภาชนะที่ใส่ วัตถุที่จะนำมาปรุงแต่งให้ได้ไอศกรีมเป็นที่เป็นที่ชื่น ชอบของผู้บริโภคนับตั้งแต่ชาเขียว กระเจี๊ยบ มะละกอ ชมพู่ งาดำ นับวันก็มีไอศกรีมหลายรสชาติให้เลือกกันรับประทาน มากมายจนจำกันแทบไม่หวาดไม่ไหวเวลาจะสั่งก็ต้องดูที่เมนูเป็นหลัก

      ความรู้เกี่ยวกับไอศกรีมชนิดต่างๆ ไอศกรีม เป็นของหวานแช่แข็ง มีส่วนประกอบสำคัญ คือ นม ไขมัน น้ำตาล ผสมกับเครื่องปรุงรสอื่นๆไอศกรีมมีหลายชนิดสามารถแบ่งตามชนิดต่างๆ ได้ดังนี้

      1. ไอศกรีม ( lce Cream ) มีส่วนผสมของนม น้ำตาล ไขมันและเครื่องปรุงรส อื่นๆเช่นช็อกโกแลตวานิลลากาแฟหรือผลไม้เช่นสตรอเบอร์รี่ข้าวโพดเผือกเป็น ส่วนประกอบไอศกรีมพรีเมี่ยม มีส่วนผสมของไขมันมากที่สุด ในประเภทของ ไอศกรีมทุกชนิด การบริโภคไอศกรีมทั่วโลกคิดเป็น70%ของบริมาณของหวาน แช่แข็งทั้งหมด

      2. ไอศกรีมหวานเย็นผสมนม ( Milk lce or lce Milk) มีปริมาณไขมันน้อยกว่า ไอศกรีมมีส่วนผสมของนม น้ำตาลและเครื่องปรุงรสอื่นๆสามารถผลิต ไอศกรีม ชนิดนี้ใด้ทั้งแบบเนื้อนุ่มและแบบเนื้อแข็ง

      3. เชอร์เบท (Sherbet) ไม่มีไขมัน มีส่วนผสมสำคัญคือน้ำผลไม้และน้ำตาล มีนมเป็นส่วนประกอบเพียงเล็กนัอยรสชาติออกเปรี้ยวและหวาน เนื้อไอศกรีม เชอร์เบทเหนียว เนียนละเอียด สีสวยสดใส

      4. ซอร์เบท์ (Sorbet) ไม่มีไขมัน มีส่วนผสมสำคัญ คือ ผลไม้(น้ำผลไมัหรือชิ้น เนื้อผลไม้บด) และน้ำตาล ซอร์เบท์มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดเนื้อไอศกรีมมี ลักษณะเป็นเกล็ดละเอียด นุ่มได้รสชาติผลไม้เข้มข้น

      5. ไอศกรีมหวานเย็น (Water Ice) ไอศกรีมหวานเย็น มีส่วนผสมหลัก คือ น้ำตาล น้ำเครื่องปรุงรสและกลิ่น ไม่มีส่วนผสมของไขมันมีปริมาณน้ำมากที่สุด สีและรส เป็นส่วนผสมสำคัญเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสัน และรสชาติที่ต้องการส่วนใหญ่มี ลักษณะ เป็นแท่ง

      6. ไอศกรีมโยเกิร์ต (YhGurt Ice Cream)มีส่วนผสมหลักคือไอศกรีมและโยเกิร์ต ซี่งจะให้รสชาติหวานกลมกล่อมแบบไอศกรีม และเปรี้ยวเล็กนัอยแบบโยเกิร์ต สามารถผลิตไอศกรีมโยเกิร์ตได้หลากหลายรสชาติเหมือนไอศกรีมทั่วไปแต่โดย ส่วนใหญ่จะใช้รสชาติผลไม้เป็นหลัก

      ธุรกิจไอศกรีมตัก

      ธุรกิจไอศกรีมตักเป็นธุรกิจที่ลงทุนน้อยใช้พื้นที่ไม่มากขายง่ายไม่ยุ่งยากไม่มีของเสีย รับประทานได้ทุกวัยทุกสถานที่และทุกเวลา ไม่ว่าจะเปิดเป็นร้านไอศกรีมโดยเฉพาะหรือ การขายไอศกรีมตักอยู่ในภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านขายขนมเค็ก ร้านกาแฟหรือแม้ แต่การตั้งตู้ขาย ในร้านอาหารของบริษัทสถานศึกษา โรงพยาบาล สวนสนุก ศูนย์การค้า โรงภาพยนต์

      ส่วนประกอบที่สำคัญอื่นๆ ในการวางรากฐานธุรกิจไอศกรีมตักทั้งที่เป็น ธุรกิจหลัก และธุรกิจเสริมก็จะมีอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น การเรียนรู้ในการเก็บรักษา ความพยายามในการคิดสร้างสรรค์ตกแต่ง การเลือกทำเลสถานที่ตั้ง ชึ่งควรจะเปิดได้ ตลอดเวลา เป็นสถานที่ที่เห็นเด่นชัด เป็นจุดที่มีคนสัญจรไปมามากๆไปมาสะดวก

      เช่น ใกล้ป้ายรถเมล์รวมถึงการพิจารณาถึงจุดขายที่ ไม่มีร้านไอศกรีม หรือร้านอาหารใน บริเวณเดียวกันหลายแห่งเกินไปนอกจากไอศกรีมจะอร่อยราคาไม่แพงแล้ว การบริการ ลูกค้าอย่างยิ้มแย้มแจ่มใสบรรยากาศที่เป็นมิตรตกแต่งร้านด้วย ให้ดูสดใสสวยงามเด่น สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น ซึ่งจะเป็นการดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านได้มากขึ้น

      รสไอศกรีมบ่งบอกนิสัย

      การเลือกรับประทานไอศกรีมรสชาติใดเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะและนิสัยของคนๆคนนั้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้มีการทำการศึกษาวิจัยกันมาอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งสามารถสรุปได้ในระดับหนึ่งว่า รสชาติของไอศรีมสามารถที่จะบ่งชี้ได้ว่าคนที่เลือกมีนิสัยเป็นคนอย่างไร


      รสวานิลา
      : เป็นคนที่ร่าเริง ชอบใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย มีความรักใคร่ในศักดิ์ศรีของตนเป็นที่รักของคนทั่วไป


      รสกาแฟ
      : เป็นคนที่ชอบการทำงานที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบมาก มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีลักษณะเป็นผู้นำ เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็ต้องทำให้สมบูรณ์กว่าผู้อื่น และเป็นคนที่ชอบการแข่งขัน


      รสสตรอเบอร์รี่
      :เป็นคนที่ชอบทำตัวสบายๆ คบคนง่าย แม้กับคนแปลกหน้า มักมองคนในแง่ดี เป็นคนที่มีความเมตตา ชอบช่วยเหลือและให้ความรักต่อผู้อื่น


      รสช็อกโกแลต
      : เป็นคนที่ข้องข้างมีจิตใจอ่อนไหว ขี้เหงา ชอบคิดถึงแต่วันคืนในอดีตที่ผ่านมาแล้วและเป็นคนที่ยึดในขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆไว้เป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิต


      รสช็อกโกแลตชิป
      :เป็นคนที่ตั้งความหวังในชีวิตไว้สูง มักมองโลกในแง่ดี เป็นคนที่สามารถแก้เรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดีเสมอ


      รสผสม
      :เป็นคนทีชอบความหลากหลาย มีชีวิตยืดหยุ่น ชอบการประนีประนอมหมายเหตุ

      ส่วนคนที่ไม่ชอบกินไอศกรีมเลยตำราว่า เป็นคนที่รักอิสระเสรี ค่อนข้างเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบดำเนินชีวิตอยู่บนความเป็นเหตุเป็นผล


      ไอศกรีมคุณภาพต้องผ่านอย.

      ไอศกรีมเป็นของโปรดของเด็ก ๆ เพราะให้ทั้งรสอร่อย และความเย็นของน้ำแข็ง ผู้ใหญ่หลายท่านก็ยังนิยมไอศกรีมมีอยู่หลายชนิด เช่น ไอศกรีมนม ไอศกรีมหวานเย็น ไอศกรีมกระทิ การที่จะผลิตไอศกรีมออกขายได้ ต้องผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ กรรมวิธีการผลิต และคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นก่อน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จึงจะยอมให้ผลิตออกขายได้ และฉลากจะต้องระบุรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วน เช่น ชื่อ/ประเภทไอศกรีม ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ส่วนประกอบ เป็นต้น

      ปัจจุบันพบว่ามีการนำพลาสติกมาปั๊มเป็นรูปต่าง ๆ แล้วบรรจุน้ำหวานปิดจุก หรือใช้ความร้อนรีดพลาสติกที่จุกให้ติดกัน แล้วนำไปแช่เย็นจนน้ำหวานกลายเป็นน้ำแข็งส่งออกขาย ผลิตภัณฑ์พวกนี้ทำขึ้นมาโดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นการลักลอบผลิตจึงไม่มีการแสดงฉลากใด ๆ การผลิตก็ทำกันอย่างง่าย ๆ ไม่ได้คำนึงถึงสุขลักษณะที่ดี

      ผู้ปกครองจึงควรให้ความสนใจในการเลือกซื้อไอศกรีมให้บุตรหลานของตนรับประทาน โดยควรเลือกซื้อไอศกรีมที่มีฉลากแสดงรายละเอียดต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ชัดเจน ภาชนะที่บรรจุไอศกรีมสะอาด ปิดสนิท ไม่ฉีกขาด ไอศกรีมไม่รั่วซึมออกมาสำหรับไอศกรีมประเภทตักขาย ก็ต้องดูสุขภาพของผู้ขายด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเล็บมือ การแต่งกาย แล้วก็ภาชนะที่ใช้ใส่ไอศกรีมส่วนตัว ไอศกรีมก็ต้องไม่มีสี กลิ่น รส ผิดปกติ และไม่เหลวหรือมีลักษณะเหมือนเคยละลายมาแล้ว


      เครดิต
      : http://www.horapa.com/content.php?Category=Appitizer&No=581

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×